ระบบการศึกษาแบบ Dual System ของเยอรมนี
1. ความสำคัญ
1.1 ระบบการศึกษาแบบ dual system ของเยอรมนี ถูกกล่าวขานว่าเป็น “backbone” ที่ทำให้เยอรมนีผ่านวิกฤตเศรษฐกิจทุก ๆ ครั้ง เนื่องจากเป็นระบบที่ทำให้ตลาดแรงงานของเยอรมนีมีแรงงานฝีมือที่ตรงกับค วามต้องการของภาคธุรกิจ ในลักษณะ perfect match เศรษฐกิจเยอรมนีจึงสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคงและ มีพลวัตร รวมทั้งอัตราการว่างงานของประชากรที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี อยู่ที่ร้อยละ 7.8 ซึ่งต่ำที่สุดในยุโรป
1.2 หัวใจของระบบ dual system คือ การมีบทบาทนำของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมัน (DIHK) ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดหลักสูตร การลงทะเบียน การจัดสอบและการรับรองคุณวุฒิ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่สามารถสื่อสารความต้องการของภาคเอกชนเยอรมั นกับโรงเรียนวิชาชีพ (Berufsschule) ในแต่ละพื้นที่ ค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการมาจากค่าสมาชิก (ในเยอรมนี มีข้อกำหนดเรื่อง compulsory membership ให้ทุกบริษัทเป็นสมาชิกของ DIHK) ส่วนรัฐ จะสนับสนุนผ่านโรงเรียนวิชาชีพที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละรัฐ
1.3 ระบบอาชีวศึกษาของไทยถูกมองว่ามีอุปสรรคในเรื่อง “ค่านิยม” และ “การเทียบวุฒิ” แต่ประสบการณ์ของเยอรมนีได้แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่จบหลักสูตร dual system เป็นบุคลากรที่เป็นที่ต้องการของตลาด และมีวุฒิที่เป็นที่ยอมรับในสังคม จึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยปัจจุบัน มีนักเรียนในหลักสูตรกว่า 1.6 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 50 ในขณะที่เพียงร้อยละ 30 ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ OECD) นอกจากนี้ จำนวนนักเรียนที่เลือกเรียนหลักสูตร dual system เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงทำให้มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Porsche BMW Siemens หรือธนาคารที่มีชื่อเสียง ที่แม้แต่นักเรียนที่จบสายสามัญแล้ว ก็สมัครแข่งขันเพื่อเข้าเรียนหลักสูตร dual system ทั้ง ๆ ที่สามารถศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
1.4 ประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มนำระบบ dual system ของเยอรมนีไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่าง ๆ ที่สนใจ อาทิ ฮ่องกง (โลจิสติกส์) โปรตุเกส (กิจการโรงแรม) อาร์เจนตินา (บัญชี) อินเดีย (เครื่องกลไฟฟ้า) จีน (การซ่อมบำรุง) ในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันออก บางประเทศที่เคยมีระบบ dual system แต่กลับยกเลิก อาทิ โรมาเนีย ก็เริ่มประสบปัญหาในตลาดแรงงาน จนมีกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการตัดสินใจ
2. ประโยชน์ของ dual system ต่อภาคส่วนต่าง ๆ
2.1 ต่อภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบัน มีหลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองแล้วกว่า 350 วิชาชีพ นักเรียนที่สำเร็จหลักสูตรเป็นแรงงานฝีมือที่ตรงกับความต้องการของบริษัทแ ละสามารถเริ่มทำงานทันที จึงทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาทักษะแรงงานลดลง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท กอปรกับช่วงที่ยังศึกษาอยู่ นักเรียนก็สามารถ contribute ให้กับบริษัท และนับวัน ก็จะยิ่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังถือเป็น CSR ของบริษัท ที่สร้างความผูกพันกับบริษัทในระยะยาวด้วย
2.2 ต่อนักเรียน นักเรียนได้รับเงินเดือนตั้งแต่เริ่มเข้าร่วมหลักสูตร และได้เรียนรู้ภาคปฏิบัติที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ทั้งในด้านเทคนิค และการใช้ชีวิตในสังคม โดยมีแรงจูงใจที่จะตั้งใจเรียน เพื่อเข้าทำงานต่อในบริษัทเมื่อจบการศึกษา เพื่อให้มีโอกาสมีอาชีพที่มั่งคง ทั้งนี้ วุฒิการศึกษาจากหลักสูตร dual system เป็นวุฒิที่มีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ (เนื่องจาก DIHK เป็นหน่วยงานกลางในการรับรองวุฒิ) ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ได้ทำงานต่อในบริษัทเดิม ก็ยังมีบริษัทอื่นที่สนใจ
2.3 ต่อประเทศ ค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการสนับสนุนระบบอาชีวศึกษาลดลง เนื่องจากภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในลักษณะ Public Private
Partnership เพื่อพัฒนามาตรฐานของระบบอาชีวศึกษาและสร้างแรงงานฝีมือรองรับความ ต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งมีส่วนในการพัฒนาองค์กรด้าน R&D และให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังช่วยลดอัตราการว่างงาน โดยเฉพาะกลุ่มวัยหนุ่มสาว ทำให้ความตึงเครียดทางสังคมลดลง ในขณะที่ turnover / กำไร รายได้จากภาษี ฯลฯ เพิ่มขึ้น
3. กรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนี
3.1 รมช.ศธ. ร่วมกับ รมช.กต.สหพันธ์ฯ ได้ลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ที่เน้นเรื่อง dual system เมื่อ ต.ค. 2555
3.2 สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมัน (DIHK) ได้ลงนาม MOU กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เมื่อ ม.ค. 2556 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเรื่องระบบการรับรองวุฒิสาขาวิชาชีพและหลักสูตรอาชีวศึกษา
3.3 นอกจากนี้ บริษัทเยอรมัน หลาย ๆ แห่งยังได้มีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และมหาวิทยาลัยของไทยโดยตรง
3.4 ล่าสุด ได้มีการลงนาม MOU อีกฉบับว่าด้วย German-Thai Dual Excellence Education เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2556 เพื่อต่อยอด MOU ต่างๆ ข้างต้น โดยกำหนดให้มีบริษัทนำร่อง 3 บริษัท ได้แก่ BMW Bosch และ B. Grimm ที่จะพัฒนาหลักสูตรกับมหาวิทยาลัย /
มหาวิทยาลัยเทคนิคของไทย โดยร่วมมือกับหอการค้าเยอรมัน-ไทย และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ)
4. ผลประโยชน์ของไทย
4.1 พัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาของไทย
โดยเฉพาะโรงเรียนสาขาวิชาชีพหรือวิทยาลัยเทคนิค โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเยอรมนี ที่เป็นต้นแบบของ dual
system
4.2 สร้างแรงงานฝีมือในประเทศ เพื่อรองรับอุปสงค์ของภาคธุรกิจและการดำเนิน mega projects ของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ด้วย
4.3 ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทเยอรมันที่มีกิจการในไทยเยอรมัน เนื่องจาก dual system สามารถตอบสนองความต้องการแรงงานฝีมือ โดยก่อนหน้านี้
บริษัทเยอรมันหลาย ๆ ราย ได้ริเริ่มความร่วมมือ โดยร่วมพัฒนาหลักสูตร dual system กับสถาบันอาชีวศึกษาของไทย ตามข้อ 3.3 แล้ว
4.4 ส่งเสริมนโยบายการเป็น hub ด้านการศึกษาของไทยในภูมิภาค เนื่องจากในระยะต่อไป ไทยสามารถเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน
* * * * *
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
มิถุยายน 2556